ป้ายบอกทางตกแต่งลายรถม้า อ.เมือง จ.ลำปาง ที่มา : โปสการ์ด จาก "ร้านม้าหมุน" http://marsmoon.hi5.com

บทบรรณาธิการ


>>>on Lampang POST <<< ยินดีต้อนรับทุกท่าน สู่มหาสมุทรแห่งข้อมูลข่าวสารลำปางนับแต่นี้ไป


เรื่องใหญ่ และเรื่องสำคัญของสังคมไทย ที่ไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่กันเท่าใดนัก ก็คือระบบฐานข้อมูล การจัดทำระบบหอจดหมายเหตุ โดยเฉพาะลำปางเอง ข้อที่น่าตกใจคือว่า ลำปางเคยมีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2492 คือ ไทยลานนา และ เอกราช ในปีพ.ศ.2500

แต่ลำปาง ขาดโครงสร้างพื้นฐานที่จะเก็บสิ่งตีพิมพ์ดังกล่าว (ยังไม่ต้องนับถึงสื่อสิ่งพิมพ์ และข้อมูลอีกจำนวนมหาศาลที่ขาดการจัดเก็บเป็นข้อมูลให้คนรุ่นหลังค้นคว้า ศึกษา) เราจึงไม่สามารถหาต้นฉบับหนังสือพิมพ์ดังกล่าว เพื่อค้น "ประวัติศาสตร์" และ "เรื่องราวลำปาง" แม้ในระยะสั้นๆ เพียง 50 -60 ปี

เชื่อว่าอีกไม่นานเรื่อง "น้ำท่วมใหญ่ลำปาง 2548" ที่สร้างความพินาศเสียหายอย่างใหญ่หลวง ก็คงจะเป็นเพียงเรื่องเล่าจากความทรงจำจางๆ เช่นเดียวกับที่เหตุภัยพิบัติทั้งหลายที่เกิดกับลำปางแต่มิได้รับการบันทึก ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ตลาด น้ำท่วม คนประสบภาวะหิวโหย...ทั้งหลายทั้งปวงจะไม่สามารถสืบค้นทางประวัติเอกสารได้แน่ชัด...และถูกหลงลืมไปในที่สุด

หากไม่มองโลกในแง่ร้ายนัก ในโลกคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต อันเป็นโอกาสอันกว้างขวางที่สามารถย่นเวลา และระยะทางการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมหาศาล วันนี้ขณะที่ seacrh หาข้อมูลข่าวทำให้ได้พบกับเว็บไซต์หนึ่งนามว่า http://www.lampang2u.com/ เว็บนี้มีความพยายามอย่างยิ่งในการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลร้านค้าลำปาง และข่าวท้องถิ่นลำปางได้อย่างน่าชื่นชม

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอ ยังคับแคบเกินไป เมื่อเทียบกับความกว้างขวางในโลกไซเบอร์ พื้นที่ตรงนี้ จึงอาสาที่จะออกมาเพื่อรองรับกับ ข้อมูล ข่าวสาร และสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลำปาง ในปัจจุบันสมัย เท่าที่จะมีกำลังจะทำได้ ขณะเดียวกันก็มองลู่ทางของเครือข่ายในมหาสมุทรแห่งข้อมูลของลำปางไปด้วย

ขณะที่ on Lampang : เปิดโลกลำปาง ก็ทำอีกหน้าที่หนึ่งในการรวบรวมฐานข้อมูล และข่าวสารทางศิลปวัฒนธรรมอันเป็นรากฐานสำคัญหนึ่งของลำปาง ซึ่งคนละบทบาทกับที่แห่งนี้ จึงถือว่า บทนำนี้เป็นการเริ่มนับหนึ่ง ที่ออกก้าวเพื่อวันข้างหน้า ดังที่ เอนก นาวิกมูล นักเขียนสารคดีชื่อดัง เคยบอกไว้ว่า "เก็บวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่า"

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ on Lampang POST
ศุกร์ 2
พฤษภา 51

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

กรณีพุทธสถานชี้ขาด 20 พ.ค.ตกลงไม่ได้ดำเนินตามกม.


ป้ายประกาศของเจ้าอาวาสวัดเชียงราย ณ กำแพงวัดเชียงราย ต.หัวเวียง อ.เมืองลำปาง ถ่ายเมื่อ 6 พฤษภาคม 2551

กรณีพุทธสถานชี้ขาด 20 พ.ค. ตกลงไม่ได้ดำเนินตามกม.
โดย ลานนาโพสต์ออนไลน์
ที่มา :
http://www.lampangpost.com/news/677-8.htm

กรณีพุทธสถานชี้ขาด 20 พ.ค. ตกลงไม่ได้ดำเนินตามกม.

20 พ.ค. ประชุมครั้งสุดท้ายรู้ผลชี้ขาดพุทธสถานหลังจากยือเยื้อมานาน หากตกลงกันไม่ได้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย กรณีพุทธสถานวัดเชียงราย ได้ยืดเยื้อมานาน ซึ่งพระครูวรกิจจารักษ์ เจ้าอาวาสวัดเชียงราย ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เข้ามาช่วยจัดระเบียบที่ธรณีสงฆ์ หรือพุทธสถาน ซึ่งมีนางสิริกร แจ่มสุวรรณ และคณะได้ถือกรรมสิทธิ์ครอบครองทำธุรกิจโดยมิชอบ ถึงแม้ว่านายกพุทธสมาคม คือ นายสิงห์คำ นภาพรรณ ได้ทำหนังสือถึงนางสิริกร ให้ย้ายออกจากพื้นที แต่กลับเพิกเฉยทำธุรกิจต่อไปไม่สนใจการคัดค้านของนายกพุทธสมาคม

คณะศรัทธา และเจ้าอาวาส โดยนายดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มอบหมายให้นายสามารถ ลอยฟ้า รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ โดยทางจังหวัดได้มีหนังสือให้แผงพระทั้งหมดออกจากบริเวณพื้นที่ของวัดเชียงรายตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา แต่ระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาประมาณ 2 เดือนแล้วแผงพระที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวยังไม่มีการย้ายยังคงดำเนินกิจการต่อไปเหมือนเดิม

ทั้งนี้นายสามารถ ลอยฟ้า รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้เปิดความคืบหน้าในเรื่องนี้ว่า “ ทางจังหวัดได้มีหนังสือไปยังแผงพระให้มีการออกจากพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม นั้น ขณะนี้กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่ได้มีการย้ายออกไป โดยวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 นี้จะได้มีการทำประชาวิจารณ์ในการหาทางแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ โดยจะมีเจ้าอาวาสวัดเชียงราย คณะกรรมการวัดเชียงราย พุทธสมาคม รวมทั้งนางสิริกร แจ่มสุวรรณ ผู้เช่าแผง ตัวแทนจากจังหวัด รวมทั้งตัวแทนจากชาวบ้านเข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้เพื่อหาทางประนีประนอมด้วยการพูดคุยกัน "

หากว่าทางกลุ่มผู้เช่าแผงยังไม่ออกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ทางจังหวัดคงต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป เนื่องจากว่าทางจังหวัดมีหลักฐานที่ชัดเจน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานและยึดเยื้อมาเรื่องนี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าหนักใจอะไร

ด้านนายสมภพ สุวรรณปัญญา คณะกรรมการวัดเชียงราย ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ ได้มีการประชุมเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่มีอะไรคืบหน้าเลย เนื่องจากว่าเมื่อมาดูตามสัญญาที่ทางคุณสิริกร แจ่มสุวรรณได้มีการทำสัญญากับพุทธสมาคม โดยจะหมดสัญญาประมาณเดือนตุลาคม 2551 นี้ ทางจังหวัดได้มีการสืบข้อมูลเชิงลึกของเรืองนี้พบว่า ทางพุทธสมาคมเป็นผู้ที่ทำสัญญาฉบับนี้ขึ้นมาจริง โดยทางจังหวัดได้มีการหาข้อมูลเกี่ยวกับทางพุทธสมาคมมีการดำเนินการในปี 2538 ตั้งแต่นั้นก็ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงหรือว่าชี้แจงงบประมาณการเงินให้กับทางจังหวัดรับทราบมาจนถึงทุกวันนี้

ตามหลักการของพุทธสมาคมไม่เกิน 5 ปีต้องมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการหรือการดำเนินงาน วันที่ 20 พฤษภาคมนี้จะเป็นการประชุมชี้ขาดว่าเรื่องนี้จะจบลงยังไงเพราไม่อยากให้มีการยื้อเยื้ออีก เดือนตุลาคม 2551 จะสิ้นสุดสัญญา การเช่าที่แผงพระทั้งหมด รวมทั้งพุทธสมาคมต้องออกจากบริเวณพุทธสถานทั้งหมด

จากการที่ได้มีการพูดคุยกับแผงพระก็ไม่อยากที่จะออกไปไม่รู้จะไปขายที่ไหน เนื่องจากว่าพุทธสถานทำเลที่ตั้งดี ทางจังหวัดจึงได้มีการพูดคุยกับวัดศรีรองเมืองที่มีแผงพระบริเวณด้านหน้าวัดอยู่แล้วก็สามารถที่จะไปขายได้ และวัดดำรงธรรมก็ยินดีที่จะให้ขายได้ด้วยเช่นกันหากเรื่องดังกล่าวไม่สามารถที่จะตกลงกันได้คงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป"

สำหรับแนวทางการฟื้นฟูพื้นที่พุทธสถานให้กลับมาเจริญและเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนาและสาธุชนทั่วไป เนื่องจากเป็นปีมหามงคลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา จึงได้จัดโครงการขึ้นมากว่า 10 โครงการ เช่น การจัดตั้งโรงเรียนลูกแก้วอุปถัมภ์ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดเชียงรายลำปาง จัดสร้างอนุสาวรีย์บรรพบุรุษที่เคยสร้างวัด โรงเรียนลูกแก้ว ฯลฯ
..............................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang POST

อาทิตย์ 18
พฤษภา 51

ไม่มีความคิดเห็น: